วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหลากหลายทางชีวภาพ

 ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biological Diversity ) หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของ
สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ซึ่งสามารถจัดแบ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ได้เป็น3 ลักษณะ คือ
   
     1.ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ( species diversity ) หมายถึงความหลากหลาย
ของชนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆนักชีววิทยาวัดความหลากหลายของชนิด
พันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยดูจาก 2 ลักษณะ คือ
         1.1. ความมากชนิด (species richness) หมายถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่อ
หน่วยเนื้อที่ เช่น ประเทศเมืองหนาวในพื้นที่หนึ่งๆมีต้นไม้อยู่ประมาณ 1 – 5 ชนิด
ขณะที่ป่าในประเทศเขตร้อนในพื้นที่เท่ากันมีต้นไม้นับร้อยชนิด เป็นต้น 
       
       
         1.2. ความสม่ำเสมอของชนิด (species eveness) หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิต
ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆดังนั้นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์จึงสามารถวัดได้จากจำนวน
ของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดรวมถึงโครงสร้างของอายุ
และเพศของประชากรด้วยความหลากหลายของชนิดพันธุ์จะแตกต่างกันไปตามพื้นที่
พื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน(tropics) และในทะเลลึกจะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูง
และความหลากหลายของชนิดจะลดลงในพื้นที่ที่มีความผันแปรของอากาศสูง เช่น
ในทะเลทรายหรือขั้วโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าในบริเวณเขตร้อนในแถบละติจูดต่ำ
(low lattitude) ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูงและจะลดลง
เมื่ออยู่ในแถบละติจูดสูง (high lattitude)
   
     2.ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แม้ในสิ่งมีชีวิต
เดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐาน
สำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง
ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป
ความหลากหลายของพันธุกรรม ( genetic diversity ) หมายถึงความหลากหลายของ
หน่วยพันธุกรรมหรือยีน(genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจ
มียีนแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์เช่น ข้าวซึ่งมีสายพันธุ์มากมายหลายพันชนิด เป็นต้น
       
         ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยน
แปลงพันธุกรรม (mutation)อาจเกิดขึ้นในระดับยีน หรือในระดับโครโมโซมผสมผสาน
กับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้น้อยมาก และเมื่อลักษณะดัง
กล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่นแมว
ที่มีลักษณะรูปร่างหลากหลายที่แตกต่างกัน เป็นต้น
   
     3.ความหลากหลายของระบบนิเวศ ( ecolosystem diversity ) หมายถึง สภาวะแวด
ล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆรวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่น ๆ
         ซึ่งจัดเป็นปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำเป็นต้นระบบนิเวศ
แต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย(habitat)ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆซึ่งมีปัจจัยทาง
กายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้นสิ่งมีชีวิตบาง
ชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย
แต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้นความหลากหลายของ
ระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต

 อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น  5  อาณาจักรคือ
       1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom  Monera)
       2. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom  Protista)
       3. อาณาจักรฟังไจ (Kingdom  Fungi)
       4. อาณาจักรพืช (Kingdom  Plantae)
       5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom  Monera)

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้มีโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน อาจมีเซลล์เดียวหรือประกอบ
ด้วยหลายเซลล์ก็ได้แต่ยังไม่รวมเป็นเนื้อเยื่อเซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส(Prokaryote
cell)  สารพันธุกรรมได้แก่กรดนิวคลิอิคประกอบด้วย DNAและ RNA กระจายอยู่ใน
ไซโทพลาซึม  ไม่มีออร์แกแนลที่มีระบบเยื่อบาง ๆ  หุ้ม  ภายในเซลล์มีไรโบโซมขนาด
เล็กไม่มีระยะเอมบริโอ  บางชนิดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้  แต่คลอโรฟิลล์ไม่ได้อยู่
ในคลอโรพลาสต์การแบ่งนิวเคลียสไม่ซับซ้อน  สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งได้
เป็น 2  ดิวิชัน ดังนี้
         1. Division  Schizophyta (ดิวิชันซิโซไฟตา) ได้แก่แบคทีเรีย
         2. Division  Cyanophyta หรือ Cyanobacteria (ไซยาโนแบคทีเรีย) ได้แก่สา
หร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน   ดิวิชันชิโซไฟตา (Division Schizophyta)มีลักษณะสำคัญ
ดังนี้
แบคทีเรีย
ที่มา http://www.ucmp.berkeley.edu/bacteria/bacteriamm.html
     ผนังเซลล์คล้ายร่างแห เรียกว่า mucopeptide(มิวโคเปปไทด์) หรือ glucosaminop
eptide (กลูโคซามิโนเปปไทด์)เพราะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโนรูปร่าง
ของแบคทีเรีย มี 3 แบบ คือแบบแท่งหรือท่อนทรงประบอก ได้แก่ พวกบาซิลลัส (Bacillus)
บาซิลลัส 
คอกคัส 
     แบบโค้งงอ ได้แก่ พวกสไปริสลัม (Spirillum) เซลล์คงรูปไม่เปลี่ยนแปลง พวกสไป
โรขีต(Spirochete)เซลล์ยืดหยุ่นไม่คงรูป และพวกคอมมา(Comma)เซลล์โค้งคล้าย
จุดลูกน้ำ
สไปริลลัม 

อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom  Protista)

   สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา เรียกรวม ๆ ว่า กลุ่มโปรติสต์ ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
ในอาณาจักรโปรติสตา คือ อาณาจักรโปรติสตา แบ่งได้เป็น 1 ไฟลัมและ 8 ดิวิชัน  คือ
         1. ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa)
โปรโตซัวชนิดต่าง ๆ
ที่มา http://www.geocities.com/sumpan2000_th/unit_3/sa_1
/protista/Protozoa.gif

     โปรโตซัวเป็นโปรติสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ในตอนแรกจึงถูกจัดอยู่ใน
อาณาจักรสัตว์มีลักษณะสำคัญดังนี้
         1. เป็นเซลล์เดียวบางชนิดเป็นเซลล์อยู่เดี่ยว ๆ บางชนิดรวมกันเป็นกลุ่ม
(colony) มีขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
         2. ไม่มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ มีออร์กาแนลทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเซลล์
         3. มีเซลล์เมมเบรนเป็นกรอบของเซลล์บางชนิดมีโครงแข็งหุ้มเป็นสารพวก
เซลลูโลส หรือเจลาติน
         4. ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว โดยคอนแทรกไทล์ แวคิวโอล นอกจากนี้
ยังทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ด้วยจึงเรียกคอนแทรไทล์ของโปรโตซัว
ว่าเป็น ออสโมเรกูเลเดอร์ (osmoregulator)
         5. การดำรงชีวิตมีทั้งที่หากินเป็นอิสระในน้ำเน่า เช่น อะมีบา สังเคราะห์ด้วยแสง สร้าง อาหารได้เอง เช่น ยูกลีนา เป็นปรสิต เช่น เชื้อไข้จับสั่น
         6. การสืบพันธุ์ ตามปกติจะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ คือการแบ่งตัวจาก 1 เป็น
2 นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ คือการเข้าจับคู่กันหรือการคอนจูเกชัน (conjugation)
         7. การเข้าเกราะ (encystment) พบในโปรโตซัวหลายชนิด เช่นยูกลีนา จะเข้าเกราะเมื่อ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
         8. รูปร่างมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ ยาวรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน
         9. อวัยวะเคลื่อนที่ของโปรโตซัวในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการ
แบ่ง หมวดหมู่ระดับคลาส เช่น มีแฟลกเจลลา ซีเลีย เป็นต้น ไฟลัมโปรโตซัว แบ่งออก
เป็น 4 คลาส คือ
              1. คลาสแฟลกเจลลาตา (Class Flagellata) เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม ซึ่งอาจมีมากกว่า 1เส้น มีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระและเป็นปรสิต อาศัยอยู่ทั้งในน้ำ
จืดและน้ำเค็ม พวกที่เป็นปรสิต ได้แก่ พวกที่ทำให้เกิดเป็นโรคเหงาหลับคือ ทริปาโน
โซมา (Trypanosoma)
ทริปาโนโซมา ทริปาโนโซมา
อมีบา
            2.คลาสซาโคดินา (Class Sarcodina)เคลื่อนที่โดยใช้เท้าเทียมหรือซูโดโป
เดียม(Pseudopodium) ซึ่งเกิดจากการไหลของไซโตพลาสซึมมีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม
เช่น อมีบา (ameba) ซึ่งเป็นปรสิตทำให้เกิดโรคบิดหรือทำให้ท้องร่วง
            3.คลาสซีเลียตา (Class Ciliata) เคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย (cilia)มีทั้งที่ดำรงชีพ
อย่างอิสระและเป็นปรสิตโดยทั่วไปมีนิวเคลียส 2 ขนาด คือนิวเคลียสขนาดใหญ่
เรียกว่า มาโครนิวเคลียส (Macronucleus)นิวเคลียสขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครนิวเคลียส
( Micronucleus)  เช่น พารามีเซียม ( Paramicium )
พารามีเซียม
พลาสโมเดียม
            4.คลาสสปอโรซัว (Class Sporozoa) พวกนี้ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ดำ
รงชีวิตเป็นปรสิต  สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์  และรวมตัวกันคล้ายการสืบพันธุ์แบบอา
ศัยเพศ  เช่น พลาสโมเดียม (Plasmodium)  ซึ่งเป็นเชื้อมาเลเรีย
      ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไป
ว่า สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย บางชนิด
ลอยตามผิวน้ำ บางชนิดเกาะกับ พืชอื่นหรือก้อนหิน บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิต
อื่นเช่น ในโปรโตซัว ไฮดรา หรือฟองน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งจะพบว่าน้ำมีสี
เขียวเข้ม เกิดขึ้น สีเขียวดังกล่าวคือ สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่
สาหร่ายสีเขียวชนิดต่าง ๆ
      ดิวิชัน ยูกลีโนไฟตา (Division Euglenophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีอยู่ 2 พวกคือ พวกที่สังเคราะห์ อาหารเองได้ และพวกที่สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมี
รูปร่างเป็นเซลล์เดียว เคลื่อนที่ได้ มีลักษณะคล้ายโปรโตซัว เรียกสิ่งมีชีวิตในดิวิชันนี้
ว่า ยูกลีนา
สาหร่ายในดิวิชันแคโรไฟตา
      ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สา
หร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากภายในเซลล์ของสาหร่ายกลุ่มนี้มี รงควัตถุพวกฟูโคแซนทิน
(fucoxanthin) ที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลมากกว่ารงควัตถุอื่น สาหร่ายในกลุ่มนี้มีประโยชน์
ทางเศรษฐกิจมาก คือ บางชนิด ใช้เป็นอาหารโดยตรง ซึ่งนิยมรับประทานกันในยุโรป บางชนิดนำมาสกัดสารประกอบพวกแอลจิน (algin) เพื่อใช้ทำสี ทำยา และขนมหวาน
บางชนิด
ไดอะตอมชนิดต่าง ๆ 
      ดิวิชัน ไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์
เดียว พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในทะเลบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี ส่วนใหญ่ จะเกิดจาก สาหร่ายในกลุ่มนี้เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ (water boom) ซึ่งชาวทะเลเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ
สาหร่ายในดิวิชันไพร์โรไฟตา
      ดิวิชัน โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีแดง มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นเดียวกับสาหร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากสารเมือก
ที่สกัดออกจาก ผนังเซลล์เรียกว่า คาร์แรจีแนน (carrageenan) นำมาผลิตเป็นวุ้นได้ นอกจากนี้สาหร่ายสีแดง ยังนำมาประกอบ เป็นอาหารโดยตรงที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “จีฉ่าย”
สาหร่ายสีแดง
      ดิวิชันมิกโซไมโคไฟตา ( Division Myxomycophyta) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เป็นเมือก ข้นสีขาว สีเหลืองหรือสีส้ม อาศัยอยู่ในบริเวณชื้นเเฉะ เช่น กองไม้ผุ ตาม
พื้นดินร่มชื้น เช่นเดียวกับเห็ดรา ส่วนใหญ่ดำรงชีพเเบบภาวะมีการย่อยสลาย เเต่ก็มี
บางชนิดเป็นปรสิต ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้เเก่ พวกราเมือก ( Slime mold )
ราเมือก

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom  Fungi)

    อาณาจักรฟังไจ หมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกเห็ดรา ตัวอย่างเช่น ราขนมปัง ยีสต์ ราเขียว ราดำ เห็ตต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศโดยทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ทำให้มีการหมุนเวียนในระบบนิเวศ เห็ดราเป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิว
เคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์
ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้กินอาหารโดยสร้าง น้ำย่อยแล้วปล่อยออกมา
ย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (saprophyte) ได้แก่ เห็ดและราช
นิดต่างๆ
      ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักฟังไจ
 
             -อาจมีเซลล์เดียวเช่น ยีสต์ แต่ส่วนใหญ่เป็นพวกหลายเซลล์
             -พวกหลายเซลล์ ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะเส้นใย เส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา(Hypha)ไฮพามักรวมกันเป็นกระจุกเรียกว่าไมซีเลียม(mycelium)ไฮฟามี
ไรซอยด์ช่วยยึดเห็ดราให้ติดแน่นกับที่และบางส่วนของไฮฟาทำหน้าที่สร้างสปอร์
hypha    
  mycelium
ที่มา http://www.scienceaid.co.uk/biology/microorganisms/images/fungus.jpg
http://www.bsu.edu/classes/ruch/msa/blackwell/9-30.jpg
         1. โครงสร้างของเซลล์เป็นเซลล์แบบยูคาริโอต มีผนังเซลล์คล้ายพืช(มีองค์
ประกอบเป็นเซลลูโลส และไคทิน) แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ดังนั้นสร้างอาหารเองไม่ได้ดำ
รงชีวิตแบบปรสิตหรือแบบภาวะมีการย่อยสลายหรือบางชนิดอยู่ร่วมกับสาหร่ายที่ต้อง
พึ่งพา(ไลเคน)
ไลเคน
         2. ส่วนใหญ่สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ สปอร์มีทั้งที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบ
ไม่อาศัยเพศ และแบบอาศัยเพศ นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบอื่นๆเช่นรา ขนมปัง สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยวิธี คอนจูเกชัน ยีสต์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีกา
รแตกหน่อ

อาณาจักรพืช (Kingdom  Plantae)

 พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์เป็นชนิดยูแคริโอต มีสารสีเพื่อการสังเคราะห์ด้วย
แสงเรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหลายชนิด มีผนังเซลล์เป็นสาร เซลลูโลส สืบพันธุ์ทั้งแบบ
อาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ  (alternation of generation) การจำ
แนกเป็นไฟลัมหรือดิวิชันใช้ลักษณะวัฏจักรชีวิตแบบสลับที่มีระยะแกมีโทไฟต์ (gemeto
phyte) และสปอโรไฟต์ (sporophyte) การมีท่อลำเลียงอาหารและน้ำ มีรากและใบ และ
มีดอก (fower) หรือไม่มีดอก แบ่งออกเป็นดิวิชัน ดังนี้
     1.ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta) เป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำ
เลียง มีระยะแกมีโทไฟต์เจริญเป็นอิสระนานกว่าระยะสปอโรไฟต์ ได้แก่ มอสส์ (moss) ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) และฮอร์นเวิร์ต (hornwort)
มอสในทวีปอเมริกา
มอสในทวีปเอเชีย
     2. ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta) พืชมีลำต้นยาวเรียว เริ่มมีท่อลำ
เลียงไม่มีใบและราก ที่แท้จริง ได้แก่สกุล Psilotum หรือหวายทะนอย
psilotum  
หวายทะนอย
     3.ดิวิชันไลโคไฟตา (Divison Lycophyta) พืชโบราณ มีใบและรากที่แท้จริง มีท่อลำเลียง ได้แก่ สกุลSelagilnella หรือตีนตุ๊กแก สกุล Lycopediun หรือหญ้ารังไก่ สามร้อยยอด
หญ้ารังไก่
      4. ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อ ๆ มี
รากและใบที่แท้จริง มีท่อลำเลียงที่แท้จริง ได้แก่สกุล Equisetum หรือหญ้าถอดปล้อง สนหางม้า
Equisetum หรือหญ้าถอดปล้อง
     5.ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) เป็นพืช เริ่มมีท่อลำเลียงพัฒนาดี
ขึ้น ไม่มีดอก ได้แก่เฟิร์น ผักแว่น จอกหูหนู แหนแดง ชายผ้าสีดา
ชายผ้าสีดา 
     6. ดิวิชันไพโนไฟตา (Division Pinophyta) เป็นพืชยืนต้น มีเนื้อไม้ มีท่อลำ
เลียงที่พัฒนาดีขึ้น มีรากและใบ มีเมล็ด แต่เมล็ดไม่มีส่วนหุ้มเมล็ด (คือ เปลือย [ghymn
osperm]) แบ่งเป็นสามซับดิวิชัน (subdivision) คือซับดิวิชัน Cycadicae คือพืชพวก
ปรง (Cycas
ปรง 
        ซับดิวิชัน Pinicae ได้แก่ แป๊ะก้วย สกุล Ginkgo และพืชพวกสน เช่น สนสองใบ(Pinus merkusii) สนสามใบ (Pinus Kesiya) ไซเพรสส์ (Cypress) เรดวูด (redwood)
แป๊ะก้วย
        ซับดิวิชัน Gneticae ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ เช่น มะเมื่อย สกุล Gnetumและพืชในทะเลทรายแอฟริกา สกุล Welwitschia
มะเมื่อย 
        ดิวิชันแมกโนลิโอไฟตา (Division Magnoliophyta) คือพืชไม้ดอกที่มีท่อลำเลียง มีใบและราก มีเมล็ดที่มีรังไข่ห่อหุ้ม แบ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocots) และพืชใบ
เลี้ยงคู่ (dicots) หรือแบ่งเป็นสองชั้นคือ
             ชั้นแม็กโนลิออปซิดา (Class Magnoliopsida [dicots]) ได้แก่พืชใบเลี้ยงคู่
             ชั้นลิลิออปซิดา (Class liliopsida [monocots]) ได้แก่พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

 สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆ
ใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของ
ท่อทางเดินอาหาร สมมาตร (symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการ
พัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม (Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพารา
ซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว (Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบันแต่ที่สำคัญมี 9 ไฟลัมคือ
              1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) 
              2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata) 
              3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes)
              4. ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) 
              5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
              6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) 
              7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
              8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)
              9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
       1.ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)   เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีสมมาตร
ลำตัวเป็นรูพรุน มีช่องน้ำเข้าและช่องน้ำออก มีโครงร่างแข็งหรือเป็นเส้นใยโปรตีนเช่น
ฟองน้ำแก้ว สกุล Euplectella ฟองน้ำน้ำจืด สกุล Spongilla ฟองน้ำถูตัว สกุล Spongia
โครงสร้างของฟองน้ำ
ฟองน้ำน้ำจืด      
ฟองน้ำ
       2.ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata)เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น
มีสมมาตรแบบ  รัศมี(radial symmetry)มีท่อทางเดินอาหาร แต่ไม่มีช่องตัว มีเซลล์ไนโด
ไซต์ (cnidocyte)สร้างเข็มพิษ(nematocyst) แบ่งเป็นสามชั้น(Class)
               2.1 ชั้นไฮโดรชัว (Class Hydrozoa) ได้แก่ ไฮดรา (Hydra)
แมงกะพรุนไฟ (Physalia)
ไฮดรา 
               2.2 ชั้นไซโฟซัว ( Class  Scyphozoa) ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (Aurelia) แมงกะพรุนไฟ (Chironex)
แมงกะพรุน
               2.3 ชั้นแอนโทซัว (Class Anthozoa) ได้แก่ ปะการัง (coral) ปะการังเขากวาง (Acrepora) กัลปังหา(sea fan)
สิ่งมีชีวิตในชั้นแอนโทซัว
       3.ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes)  ได้แก่หนอนตัว
แบนมีเนื้อเยื่อสามชั้น ไม่มีช่องตัว มีสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateralsymmetry)มีระบบ
ย่อยอาหาร (บางชนิดไม่มี) แบ่งเป็นสามชั้น
               3.1 ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Class Turbellaria) ได้แก่ พลานาเรีย (Dugesia)
พลานาเรีย
       4.ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) ได้แก่ หนอนตัวกลม มีเนื้อเยื่อสามชั้นมี
สมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวเทียม (pseudocoet) เช่น พยาธิไส้เดือน(Ascaris lumb
ricoides) โรคเท้าช้าง (Brugia malayi)
พยาธิไส้เดือน
       5.ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)หนอนปล้อง ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง
ชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง (coelom) มีระบบ
ไหลเวียนและระบบประสาทแบ่งเป็นสามชั้น
               5.1 ชั้นโพลีคีตา (Class  Polychaeta) ได้แก่ แม่เพรียง (Nereis) หนอนฉัตร (tube worm)
แม่เพรียง
หนอนฉัตร
               5.2    ชั้นโอลิโกคีตา (Class  Oligochaeta) ได้แก่ ไส้เดือนดิน (Pheretima)
วงชีวิตไส้เดือนดิน
               5.3 ชั้นไฮรูดิเนีย (Class  Hirudinea) ได้แก่ ปลิง (leech) ทากดูดเลือด (landleech)
ทากดูดเลือด   
    ปลิงน้ำจืด
       6.ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)ลำตัวนิ่มมักมีเปลือกหุ้มเนื้อเยื่อสาม
ชั้นมีสมมาตรด้านข้างมีช่องตัวลดรูปจนมีขนาดเล็กมีระบบไหลเวียนและระบบประสาท
แบ่งเป็นห้าชั้น
               6.1 ชั้นแอมฟินิวรา (Class  Amphineura) ได้แก่ ลิ่นทะเล (chiton)
ลิ่นทะเล 
               6.2 ชั้นแกสโทรโพดา (Class  Gastropoda) ได้แก่ หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยทาก (slug) ทากทะเล (nudibranch)
       7.ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)สัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็นปล้อง
มีโครงร่างภายนอกหรือเปลือกปกคลุม ขาต่อเป็นข้อๆ สมมาตรแบบด้านข้างมีระบบไหล
เวียนและระบบประสาทแบ่งเป็น สองซับไฟลัมคือ เคลิเซอราตา (Chelicerata) ได้แก่
แมงดาทะเล และแมงมุม และซับไฟลัมแมนดิบูลาตา (Mandibulata)เช่น กุ้งู ปู ตะขาบ
กิ้งกือ แบ่งเป็นชั้นดังนี้
               7.1 ไซโฟซูริดา (Class  Xiphosurida)
 ได้แก่ แมงดาจาน (Tachypleus gigas)
แมงดาจาน
       8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)เป็นสัตว์ทะเลทั้ง
หมด ผิวหนังมีหนาม ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยมีสมมาตรรัศมีมีระบบน้ำใช้ใน
การเคลื่อนที่มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร จำแนกเป็น
ห้าชั้น
               8.1 ชั้นแอสเทอรอยเดีย (Class Asteroidea) ได้แก่ ปลาดาว หรือดาวทะเล (star fish)
ดาวทะเล 
               8.2ไคนอยเดีย (Class  Crinoidea) เช่น ดาวขนนก (feather star) พลับ
พลึงทะเล (sea lilly)
ดาวขนนก
พลับพลึงทะเล
       9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตร
ด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุดจำแนกเป็นสามซับไฟลัมคือ
               9.1 ซับไฟลัมยูโรคอร์ดาตา (Subphhylum Urochordata) ได้แก่ เพรียง
หัวหอม (tunicate)
เพรียงหัวหอม
               9.2. ชั้นแมมมาเลีย (Class Mammalia) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ แพลทิปัส ปากเป็ด (duck-billed platypus) สัตว์มีถุงหน้าท้อง (marsupials) เช่น จิงโจ้ โอพอสซัม แทสมาเนียนเดวิล สัตว์มีรก (placenta) เช่น กระรอก กระต่าย วัว  ควาย ช้าง แรด ลิง คน
แทสมาเนียนเดวิล
แพนด้าแดง
       นักวิทยาศาสตร์พบว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีก 2 ชนิด คือ ไวรัส (Virus) กับไวรอยด์ (viroid) มีลักษณะแตกต่าง จากพวกโพรคาริโอตและยูคาริโอต กล่าวคือ โครงสร้างยังไม่เป็น
เซลล์ ไม่มีทั้งเยื่อหุ้มเซลล์และ ไซโทพลาซึม เป็นพียงอนุภาค (virion) ที่ประกอบด้วย
DNA หรือ RNA และโปรตีนเท่านั้น  นักวิทยาศาสตร์บางคนจัดให้อยู่ในอาณาจักรไวรา ไวรัสประกอบด้วย DNAหรือ RNA ที่มีโปรตีน (capsid) ห่อหุ้มและมีเอนไซม์สำหรับใช้
ในเมแทบอลิซึม ส่วนไวรอยด์มีเฉพาะRNA ที่ไม่มีโปรตีนหุ้มและไม่มีเอนไซม์เลยโรค
บางชนิดที่เกิดจากไวรัส ได้แก่
                 ไข้เลือดออกไข้หวัดใหญ่
                 ไข้หวัด
                 โรคตับอักเสบชนิดบี
                 โรคเอดส์ Arbovirus
                 Orthomyxovirus
                 Picornavirus
                 Hepatitis B Virus
                 Human Immunodeficiency Virus
เชื้อไวรัส HIV

จำนวนสิ่งมีชีวิตที่รู้จักกันในโลก

ลายท่านได้ทำการคาดคะเนจำนวนทั้งหมดที่มีในปัจจุบัน แต่ตัวเลขที่ได้มีความแตก
ต่างกันเช่น Erwin (1983) คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตประมาณ30 ล้านชนิด  Wilson (1988)
ประมาณว่า อยู่ในระหว่าง 5 -30 ล้านชนิดส่วน Mcneely และคณะ (1990)คาดว่ามีถึง
ประมาณ 50 ล้านชนิด โดยในจำนวนนี้เป็นสิ่ง มีชีวิตที่ได้ถูกมนุษย์ค้นพบและตั้งชื่อ
วิทยาศาสตร์แล้วประมาณ  1.7 ล้านชนิด โดยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบในป่าเขตร้อน
      จำนวนของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งไวรัสที่ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว (Wilson,  1988)
ไวรัส
1,000 ชนิด
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแบคทีเรีย
4,760 ชนิด
เห็ด รา
46,983 ชนิด
 สาหร่าย
 26,900 ชนิด
โปรโตซัว
30,800 ชนิด
พืช
248,428 ชนิด
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
989,761 ชนิด
สัตว์มีกระดูกสันหลัง
43,853 ชนิด
    จำนวนชนิดที่รู้จักกันในประเทศไทย
         จากการสำรวจความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์ของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทย ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.36เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่บกของโลก ปรากฎว่าเป็น
แหล่งที่มีความหลากหลายอยู่ในลำดับที่สูงมากแห่งหนึ่งของโลกโดยมีความหลากหลาย
ของสัตว์มีกระดูก-สันหลังและพืชพวกที่มีท่อลำเลียงสูงตั้งแต่ 3.4 ถึง มากกว่า 9.3 เปอร์เซ็นต์ของที่มีในโลก
     จำนวนชนิดโดยประมาณและจำนวนเปอร์เซ็นต์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
และ
พืชพวกมีท่อลำเลียงที่พบแล้วของไทย เปรียบเทียบกับจำนวนที่พบแล้ว
ของโลก
 
ประเภทของสิ่งมีชีวิต
จำนวนชนิด
โลก
ไทย
(%)
สัตว์มีกระดูกสันหลัง
43,853
4,094
9.3
เฟิร์น
10,000
591
5.9
สน
529
25
4.7
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
50,000
1,690
3.4
พืชใบเลี้ยงคู่
170,000
7,750
4.6
    สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการอยู่รอด การเจริญเติบโต และการแพร่พันธุ์ของสิ่งมี
ชีวิต หลายชนิดตลอดปีอย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศมีความแตกต่างกันบ้างในภาคต่างๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของภาคและความสูงต่ำของพื้นที่แต่โดยรวมแล้วสภาพภูมิอากาศ
ของไทยจะไม่เปลี่ยนแปลงรุนแรงและรวดเร็วมากเหมือนในเขตอบอุ่นและเขตหนาวและ
ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันในแต่ละภาค จึงทำให้เกิดความหลากหลายของ
แหล่งที่อยู่อาศัย ตามธรรมชาติหลายประเภท เช่น มีประเภทของป่าธรรมชาติมากกว่า12ประเภท เป็นต้นอีกทั้งประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อทั้งทะเลและแผ่นดินใหญ่ จึงเป็นศูนย์กลางที่มีการ กระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์เข้ามาจากพื้นที่ต่างๆ รอบด้าน
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งที่รวบรวมเอาความหลาก
หลายทางชีวภาพไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
    ข้อมูลของกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย
จำนวนชนิดโดยประมาณของสัตว์มีกระดูกสันหลังของไทยที่เปรียบเทียบกับของโลก
ประเภทของสิ่งมีชีวิต
จำนวนชนิด
โลก
ไทย
(%)
ปลา
19,056
2,401
12.6
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
4,187
123
2.9
สัตว์เลื้อยคลาน
6,300
318
5.0
นก
9,040
962
10.6
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
4,000
292
7.3
เต่าและตะพาบ
 257
26
10
   จำนวนชนิดโดยประมาณของสัตว์เลื้อยคลานที่พบแล้วในประเทศไทย และประเทศ
ใกล้เคียง
ประเภท
ไทย
พม่า
ลาว
เวียดนาม
 กัมพูชา
มาเลเซีย
เต่า
26
26
9
26
12
21
จระเข้
3
1
1
2
2
2
ตุ๊กแก
37
20
14
12
5
22
กิ้งก่า, ตะกวด
32
22
20
19
14
25
จิ้งเหลน
40
18
19
21
11
31
งู
174
152
85
132
80
147
รวม
312
239
148
212
124
248

    ข้อมูลของกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย(เรียบเรียงจาก ไพบูลย์
นัยเนตร, 2532 และการติดต่อส่วนบุคคล, 2543)

        สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก มีประมาณ 96% ของสัตว์โลกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นพวกสัตว์ขาปล้อง 85% โดยแบ่งออกเป็น
  • แมลง ประมาณ 74%
  • พวก กุ้ง ปู กั้งตั๊กแตน ไรน้ำ แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือ แมงดาทะเลและสัตว์ขาปล้องชนิดอื่นๆ ประมาณ 11 %
  • และที่เหลือเป็นสัตว์ ประเภทอื่นๆ เช่น ปะการัง หนอนตัวแบน หนอนตัวกลม หอย และ เอไคโนเดริม รวมแล้วประมาณ 11%
    สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็นไฟลัม(Phylum)ต่างๆทั้งหมดประมาณ 31-33 ไฟลัมซึ่งขึ้นอยู่กับนักสัตววิทยาแต่ละคนที่จะแบ่งให้ละเอียดออกไปซึ่งรวมทั้งการแบ่งชั้น (class)ของแต่ละไฟลัมเพิ่มจำนวนขึ้นด้วยเนื่องจากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นกลุ่มสัตว์ที่มี
จำนวนมาก และบางกลุ่มสามารถพบได้ทั่วไปทุกหนทุกแห่งทั้งในน้ำ บนดิน ใต้ดิน และใน
อากาศนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการไทยที่ทำการศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังใน
ประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก และศึกษากันอยู่ในวงแคบๆเพียงไม่กี่กลุ่มของสัตว์พวกนี้ โดยเฉพาะจะทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการประมง
และตลอดจนนำมาใช้เป็นอาหารของประชาชนและที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์เท่านั้นที่จะ
ศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานทางด้านการสอนและการวิจัยนั้นมีเป็นจำนวนน้อย เพราะไม่มีข้อ
มูลและเอกสารในการศึกษาได้เพียงพอ ประกอบกับยังไม่มีการเก็บตัวอย่างสัตว์ครอบคลุม
ทั่วประเทศ ปัจจุบันแม้จะมีหน่วยงานที่สนับสนุนให้ทำงานด้านนี้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ รัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้เต็มที่ จึงจะได้ข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคตอันใกล้
ดังนั้นจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นนี้จึงทำให้ประเทศไทย
    ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีจำนวนชนิด(species)ที่แน่นอนของพวกสัตว์ไม่มี
กระดูกสันหลังเท่าใดที่พบในประเทศไทยนอกจากนั้นยังไม่สามารถบอกได้ว่าขณะนี้พบสัตว์
กลุ่มนี้แล้วกี่เปอร์เซ็นต์และยังไม่ได้พบอีกกี่เปอร์เซ็นต์เพราะการวิจัยเกี่ยวกับทางด้าน
อนุกรมวิธานของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีนักวิชาการตามกรม กองต่างๆและอาจารย์ในมหา
วิทยาลัยบางคนเท่านั้นที่ทำงานทางด้านนี้ และก็มีปัญหาตามมาดังที่กล่าวมาแล้วจึงทำ
ให้งานทางด้านนี้ก้าวหน้าไปช้ามาก
     จำนวนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มโดยประมาณที่พบในประเทศไทย
แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

  • Phylum Coelenterata พบพวกปะการังในอ่าวไทยประมาณ 90 ชนิด
  • Phylum Platyhelminthes พบพวกพยาธิใบไม้ปอด 6 ชนิด
  • Phylum Mollusca พบพวกหอยฝาเดียว มากกว่า 1,000 ชนิด หอยสองฝา มากกว่า 300 ชนิดและหมึก 24 ชนิด
  • Phylum Annelida พบพวกหนอนทะเล 50 ชนิด
  • Phylum Arthropoda พวก Crustaceans: ปูน้ำจืด 120 ชนิด, ปูน้ำเค็ม 580 ชนิด, กุ้งน้ำจืด 20 ชนิด, กุ้งน้ำเค็ม 140 ชนิด, กั้งตั๊กแตน 62 ชนิด, พวกที่เป็น planktonได้แก่พวก Amphipod 54 ชนิด, Copepod 150 ชนิด, Ostracod 32 ชนิด, พวกที่เป็นปรสิต (Isopod และ Copepod) 75 ชนิด และแมงดาทะเล 2 ชนิด
  • Phylum Chaetognatha พบ 13 ชนิด
  • Phylum Echinodermata พบ 55 ชนิด
      


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น